1. เตาผลิตก๊าซแบบก๊าซไหลขึ้น (Updraft gasifier)
เป็นเตาผลิตก๊าซที่ใช้ตั้งแต่แรกเริ่ม และเป็นแบบที่ง่ายที่สุด ดังแสดงในภาพที่ 1 (Breag และ Chitten, 1979) เชื้อเพลิงถูกป้อนเข้าทางด้านบนของเตาและอากาศถูกส่งผ่านตะแกรงเข้ามาทางด้านล่างเหนือตะแกรงขึ้นไป จะมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงบริเวณนี้เรียกว่า บริเวณเผาไหม้ เมื่อมีอากาศผ่านเข้าไปในบริเวณเผาไหม้ จะเกิดปฏิกิริยาขึ้น ได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ก๊าซ ที่ผ่านออกมาจากบริเวณเผาไหม้จะมีอุณหภูมิสูงและจะเข้าไปยังบริเวณรีดัคชัน ที่บริเวณนี้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ จะทำปฏิกิริยากับคาร์บอนทำให้เกิด คาร์บอนมอนอกไซด์และ ไฮโดรเจน หลังจากนั้นก๊าซที่ได้จะไหลเข้าสู่บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าใน ชั้นของชีวมวล และกลั่น สลายในช่วงอุณหภูมิ 200 – 500 องศาเซลเซียส ต่อจากนั้นก๊าซก็จะไหลเข้าสู่ชั้นของชีวมวลที่ชื้น เนื่องจาก ก๊าซยังมีอุณหภูมิสูงอยู่ จึงไประเหยน้ำที่อยู่ในชีวมวล เหล่านั้น ทำให้ก๊าซที่ออกจากเตา ผลิตก๊าซมีอุณหภูมิต่ำลง
|
ภาพที่ 1 ลักษณะเตาผลิตก๊าซชีวมวลแบบไหลขึ้น
แหล่งที่มา :
Breag และ Chitten
(1979)
2. เตาผลิตก๊าซแบบก๊าซไหลลง (Downdraft gasifier)
เตาผลิตก๊าซเชื้อเพลิงแบบนี้เคยใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มาแล้ว และยังคงใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ดังแสดงในภาพที่ 1 เตาผลิตก๊าซแบบไหลลงนี้ออกแบบมาเพื่อขจัดน้ำมัน ดินในเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ อากาศจะถูกดูดผ่านจากด้านบนลงสู่ด้านล่างโดยผ่านกลุ่มของหัวฉีด (nozzle) ที่เรียกว่า tuyers บริเวณหัวฉีดจะเป็นบริเวณเผาไหม้จะถูกรีดิวซ์ (reduce) ในขณะที่ไหลลงสู่ด้านล่างผ่านชั้นของคาร์บอนร้อนที่อยู่เหนือตะแกรงเล็กน้อย ในขณะเดียวกันชั้นของชีวมวลที่อยู่ทางด้านบนบริเวณเผาไหม้ เนื่องจากมีปริมาณของออกซิเจนน้อยมากจะเกิดการกลั่นสลาย แต่ไอน้ำมันดินที่เกิดจากการกลั่นสลายก็จะไหลผ่านชั้นคาร์บอนร้อน จึงทำให้น้ำมันดินเกิดการแตกตัวเป็นก๊าซ ก๊าซที่ผ่านบริเวณเผาไหม้ในเตาแบบนี้ จะมีส่วนประกอบของน้ำมันดินลดลงเหลือน้อยกว่า 10% ของน้ำมันดินที่ได้จากเตาแบบก๊าซไหลขึ้น และก๊าซที่ได้สะอาดกว่า เนื่องจากความเร็วก๊าซ เชื้อเพลิงที่ได้มีความเร็วต่ำ และเถ้าอยู่บริเวณตะแกรง ดังนั้นจึงมีปริมาณเถ้าน้อยมากที่ติดออกมาพร้อมกับก๊าซเชื้อเพลิง (Reed, 1980) เตาผลิตก๊าซแบบก๊าซไหลลงจะใช้ได้ไม่ดีกับเชื้อเพลิงที่เถ้าอยู่มาก เพราะเถ้าจะเกิดสะสมและขวางการเผาไหม้ ทำให้อัตราการเผาไหม้ช้าลงและเกิดการสูญเสียความดันภายในเตามากขึ้น
|
|
| ภาพที่ 2 ลักษณะเตาผลิตก๊าซแบบก๊าซไหลลง (Breag และ Chitten, 1979) |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น